นางสาวกัลยรัตน์ วงกต รหัส 5681135064
แผนการจัดการเรียนรู้
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูลละแหล่งข้อมูล สอน........................
สาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นประถมศึกษาปีที่
5
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ข้อมูลและแหล่งข้อมูล เวลา 2 ชั่วโมง
.…………………………………………………………………………………………………..
สาระสำคัญ
ข้อมูล คือ
สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเราซึ่งสามารถรับได้จากประสาทสัมผัสผ่านทางอวัยวะต่างๆของร่างกาย ข้อมูลที่ดีจะต้องมีความเชื่อถือได้ ตรงต่อความต้องการ และทันสมัยโดยมาจากแหล่งข้อมูลที่ดี ซึ่งแบ่งเป็น4ประเภท คือ บุคคล สัตว์และสิ่งของ สถานที่
และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ซึงแหล่งข้อมูลต่างๆเหล่านี้จะต้องน่าเชื่อถือและสามารถตรวจสอบข้อมูลได้
ตัวชี้วัดชั้นปี
ค้นหา รวบรวมข้อมูลที่สนใจ
และเป็นประโยชน์จากแหล่งข้อมูลต่างๆที่เชื่อถือได้ตรงตามวัตถุประสงค์ (ง.3.1 ป.5/1)
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกลักษณะของข้อมูลและแหล่งข้อมูลได้
(K)
2. เห็นประโยชน์และมีเจตคติที่ดีต่อข้อมูลและแหล่งข้อมูล
(A)
3. มีทักษะในการถ่ายทอดข้อมูลและยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลที่ดี
(P)
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1.ความสารารถทางการสื่อสาร
2.ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
คุณลักษณะอันพึ่งประสงค์
1.มีวัย
2.ใฝ่เรียนรู้
3.มีความรับผิดชอบ
4.มุ่งมั่นในการทำงาน
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ด้านความรู้ (K)
|
ด้านคุณธรรม
จริยธรรม
และค่านิยม (A)
|
ด้านทักษะ/กระบวนการ
(P)
|
1. สังเกตการถามและการตอบคำถามเกี่ยวกับข้อมูลและแหล่งข้อมูล
2. ตรวจใบบันทึกข้อมูลและแบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test)
|
1. สังเกต ความสนใจและความกระตือรือร้นในการปฏิบัติกิจกรรม
2. สังเกตความร่วมมือและการปฏิบัติตามกติกาในเกม
|
1. สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่น
2. สังเกตทักษะในการถ่ายทอดข้อมูล
3.สังเกตทักษะการแก้ปัญหาขณะปฏิบัติกิจกรรม
|
สาระการเรียนรู้
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูลและแหล่งข้อมูล
-ข้อมูล
-แหล่งข้อมูล
แนวทางบูรณาการ
ภาษาไทย การสรุปข้อมูลลงในกระดาษสำหรับบันทึกข้อมูล
วิทยาศาสตร์ แรงที่ใช้เขียนข้อมูลบนแผ่นหลังของผู้อื่น
สังคมศึกษา การปฏิบัติกิจกรรมอย่างมีสติ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและความผิดพลาดในการปฏิบัติกิจกรรม
สุขศึกษา การเล่นเกมด้วยความสนุกสนานและปฏิบัติตามกติกาของเกม
ภาษาต่างประเทศ การเขียนและอ่านคำศัพท์ที่เกี่ยวกับข้อมูลและแหล่งข้อมูล
กระบวนการจัดการเรียนรู้
ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1.ครูให้ดูวิดีโอเกี่ยวกับข้อมูลและแหล่งข้อมูล
2.ครูอธิบายคำว่าข้อมูลและแหล่งข้อมูลพอเข้าใจ
ขั้นที่ 2 ขั้นสอน
1.นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) จำนวน10ข้อ10นาที
2.ให้นักเรียนส่งแบบทดสอบก่อนเรียน
3.ครูแจกใบความรู้เรื่องข้อมูลและแหล่งข้อมูล
4.ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น2กลุ่มจำนวนเท่าๆกันแล้วให้ตัวแทนกลุ่มออกไปหน้าชั้นเรียน
5.ครูอธิบายวิธีการเล่นเกม “ส่งข้อมูล” ดังนี้
5.1 ให้นักเรียนยืนเข้าแถว2แถวหน้ากระดาน
หันหน้าไปทางกระดาน นักเรียนคนหลังสุดกลับหลังหัน
5.2 ห้ามนักเรียนทุกคนส่งเสียงใดๆขณะเล่นเกม
5.3 ครูแจกบัตรคำข้อมูลและแหล่งข้อมูลให้นักเรียนคนหลังสุดคนละ3ใบ ให้นักเรียนอ่าน ดูและจำชื่อข้อมูลนั้น แล้วส่งคืนครู
5.4 ครูให้สัญญาณ
เมื่อนักเรียนได้ยินสัญญาณแล้วให้หันหลังกลับแล้วเขียนชื่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์จากบัตรที่ได้รับลงบนหลังเพื่อนคนข้างหน้าทั้ง3คำ
5.5 นักเรียนที่ได้รับข้อมูลจากเพื่อนให้ส่งข้อมูลต่อไปยังนักเรียนคนที่อยู่ด้านหน้าด้วยการเขียนหลังต่อกันไปเรื่อยๆ
จนถึงคนที่อยู่หน้าสุด
5.6 นักเรียนคนที่อยู่หน้าสุดมาหยิบบัตรคำและบัตรภาพที่ครู ให้ตรงกับที่ได้รับข้อมูลจากเพื่อนที่เขียนหลังไปติดบนกระดาน
6.เมื่อหมดเวลาให้ครูและนักเรียนช่วยกันตรวจสอบข้อมูลบนกระดานว่าถูกต้องหรือไม่
อย่างไร
7.ครูถามว่าข้อมูลที่แสดงบนกระดานของนักเรียนเป็นข้อมูลหรือแหล่งข้อมูล
ประเภทใด
8.ครูเปิดสื่อ Powerpoint อธิบายความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูลและแหล่งข้อมูลพร้อมให้ดูภาพประกอบ
หน่วยการเรียนรู้ที่1 ข้อมูลและแหล่งข้อมูล
ขั้นที่ 3 ขั้นสรุป
1.นักเรียนสรุปความหมายและลักษณะของข้อมูลว่าเป็นสิ่งต่างๆที่เรารับรู้ได้จากประสาทสัมผัส
2.นักเรียนสรุปความหมายและลักษณะของแหล่งข้อมูลว่าเป็นสิ่งต่างๆที่ให้ข้อมูลแก่เราหรือทำให้เราได้รับข้อมูล
ขั้นที่ 4 ขั้นฝึกฝนนักเรียน
1.ให้นักเรียนสำรวจข้อมูลที่ดีที่พบในโรงเรียนและชุมชนจากนั้นให้นักเรียนสรุปแต่ละคนว่าแหล่งข้อมูลดังกล่าวให้อะไรบ้าง
ขั้นที่ 5 ขั้นนำไปใช้
1.นักเรียนบอกลักษณะของข้อมูลและแหล่งข้อมูลที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้
2.นักเรียนยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลที่ดีที่พบในโรงเรียนและชุมชน
กิจกรรมเสนอแนะ
1.กิจกรรมสำหรับกลุ่มสนใจพิเศษ
นักเรียนศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบข้อมูลและแหล่งข้อมูลว่าเป็นข้อมูลและแหล่งข้อมูลที่ดีหรือไม่
อย่างไร
2.กิจกรรมสำหรับฝึกทักษะเพิ่มเติม
นักเรียนศึกษาเพิ่มเติมและโต้วาทีในญัตติ “แหล่งข้อมูลที่เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์มีประโยชน์กว่าแหล่งข้อมูลประเภทอื่น”
สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. วิดีโอเกี่ยวกับข้อมูลและแหล่งข้อมูล
2. แบบทดสอบ Pre-test
3.ใบความรู้
4. เกมส์
5. PowerPoint
6. รูปภาพ
7. สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือ บทความ
เอกสารประกอบการเรียนการสอนเกี่ยวกับวิธีการใช้งานคอมพิวเตอร์และการค้นหาข้อมูล
8. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
เว็บไซต์ทางการศึกษา Hyperbook
ที่นำเสนอเกี่ยวกับข้อมูลและแหล่งข้อมูล
9.สถานที่ เช่น พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ห้องสมุด ศูนย์การเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
10.บุคคล เช่น ผู้ปกครอง ครู นักวิชาการ เจ้าหน้าที่ห้องคอมพิวเตอร์
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
11. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศ ป. 5 บริษัท
สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด
12. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน
เทคโนโลยีสารสนเทศ ป. 5 บริษัท สำนักพิมพ์
วัฒนาพานิช จำกัด
บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1.
ผลการเรียนรู้
ผลการเรียนระดับดีมาก จำนวน................คน คิดเป็นร้อยละ..............
ผลการเรียนระดับดี จำนวน................คน คิดเป็นร้อยละ..............
ผลการเรียนระดับปรับปรุง จำนวน................คน คิดเป็นร้อยละ..............
2. บันทึกผลการเรียนรู้
2. บันทึกผลการเรียนรู้
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
2.
ปัญหาและอุปสรรค
..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
4.ข้อเสนอแนะ
..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ลงชื่อ........................................(ผู้สอน)
.........../......../..........
สื่อการสอน
แบบทดสอบ
แบบทดสอบก่อนเรียน
คำชี้แจง
ให้วงรอบตัวอักษรหน้าคําตอบที่ถูกที่สุด
๑.
ใครรับข้อมูลด้วยวิธีการที่แตกต่างจากคนอื่น
ก. เกดอ่านหนังสือพิมพ์ ข. เดียวไปชมภาพยนตร์
ค. นุชไปกินอาหารเกาหลี ง. หน่อยยืนดูป้ายประกาศ
๒. ข้อมูลใดที่เราสร้างขึ้นเองได้
ก. นิตยสาร ข. โทรทัศน์
ค. อินเทอร์เน็ต ง. บันทึกประจําวัน
๓. ข้อมูลใดเป็นข้อมูลตัวอักษร
ก. จํานวนเงิน ข. ทะเบียนรถ
ค. ราคาสินค้า ง. กลิ่นดอกไม้
๔. ข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. ข้อมูลตัวอักษรอาจเป็นตัวเลข
ที่ไม่ใช่ในการคํานวณ
ข. ภาพนิ่งไม่จัดเป็นข้อมูลภาพ
ค. การกินทําให้ได้ข้อมูลรสชาติ
ง. การฟังวิทยุทําให้ได้ข้อมูลเสียง
๕. ข้อมูลในข้อใดแตกต่างจากพวก
ก. นํ้าหนักรถยนต์ ข. ป้ายทะเบียนรถ
ค. ข่าวจากหนังสือพิมพ์ ง. ข้อความในป้ายประกาศ
๖.
จากภาพ เด็กผู้หญิงได้รับข้อมูลชนิดใด
ก. ข้อมูลภาพ ข. ข้อมูลตัวเลข
ค. ข้อมูลเสียง ง. ข้อมูลตัวอักษร
๗.
การกระทําในข้อใดทําให้ได้รับข้อมูลต่างจากข้ออื่น
ก. ดื่มกาแฟ
ข. กินผลไม้
ค. ฟังเพลง ง. ชิมอาหาร
๘.
การศึกษาข้อมูลเพื่อทํารายงานทําให้ได้รับประโยชน์ในด้านใด
ก. ด้านการสื่อสาร ข. ด้านการตัดสินใจ
ค. ด้านการพัฒนาสังคม ง. ด้านการเรียนและการทํางาน
๙. จิตรกรรมฝาผนัง เป็นข้อมูลชนิดใด
ก. ข้อมูลอื่นๆ ข. ข้อมูลภาพ
ค. ข้อมูลตัวเลข ง. ข้อมูลตัวอักษร
๑๐. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของข้อมูล
ก. ทําให้เอาเปรียบผู้อื่นได้ ข. นําไปใช้พัฒนาสังคมได้
ค. ทําให้เป็นคนฉลาดรอบรู้ ง. แก้ไขปัญหาต่างๆ ได้เหมาะสม
ใบความรู้
ข้อมูลและแหล่งข้อมูล
ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงที่เราสนใจ
ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของหรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น
- ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล
- ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งของ
- ข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือ
เช่น ข้อมูลหนังสือพิมพ์ วารสาร ตำราทางวิชาการ เอกสารทางราชการ
เป็นต้น
- ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่
ประเภทข้อมูล
ข้อมูลที่เราพบอาจอยู่ในรูปต่าง ๆ หลายรูปแบบ เช่น เป็นตัวเลข
หรือข้อความตัวอักษร หรืออาจเป็นทั้งตัวเลข ตัวอักษร อยู่ด้วยกัน การกำหนดข้อมูล
มีรูปแบบใดขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ การใช้งาน
การแบ่งข้อมูล
แบ่งออกเป็น4ประเภทดังนี้
-ข้อมูลประเภทตัวเลข ได้แก่ข้อมูลที่เป็นจำนวน
(สามารถนำมาคิดคำนวณได้) เช่น ราคาสินค้า อุณหภูมิ น้ำหนัก ส่วนสูง อายุ เป็นต้น
-ข้อมูลประเภทตัวอักษร ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร ตัวเลข
สัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น รหัสไปรษณีย์ ชื่อจังหวัด เป็นต้น
-ข้อมูลประเภทภาพ ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นภาพถ่าย ภาพลายเส้น ภาพวิดีโอ
แบบก่อสร้างอาคาร ภาพลายนิ้วมือ ภาพถ่ายแผนที่ทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น
-ข้อมูลประเภทเสียง ได้แก่ เสียงที่มีการบันทึกเก็บไว้ เช่น
คำสํมภาษณ์ คำให้การในศาล การฟังเพลง เป็นต้น
แหล่งข้อมูล
เราสามารถหาข้อมูลได้จากแหล่งต่าง
ๆ ดังนี้
- โทรทัศน์
ให้ประโยชน์ทั้งด้านบันเทิงและสาระความรู้ทั้งภาพและเสียง
โดยผู้ชมจะได้ข้อมูลที่ทันเหตุการณ์เป็นแหล่งข้อมูลที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
- วิทยุ
ให้ข้อมูลแก่ผู้ฟังผ่านทางเสียง เช่น ข่าว เพลงและความรู้อื่น ๆ
- หนังสือพิมพ์
ให้ข้อมูลในหลาย ๆ ด้าน เช่น เดียวกับโทรทัศน์
เป็นการให้ข้อมูลผ่านตัวอักษรและรูปภาพ
- นิตยสาร/วารสาร
ให้ข้อมูลหลากหลายประเภทเฉพาะด้านตามความสนใจ
- คอมพิวเตอร์
เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล สืบค้นความรู้ ความบันเทิง
และข่าวสารต่าง ๆ ได้ โดยผ่านอินเตอร์เน็ต
- ภูมิปัญญาท้องถิ่น
เป็นแหล่งข้อมูลอีกประเภทหนึ่งที่สามารถใช้แสวงหาข้อมูลได้ เช่น บุคคล
ศิลปหัตถกรรม ศิลปวัฒนธรรม
- สภาพแวดล้อมธรรมชาติ
เป็นแหล่งข้อมูลที่อยู่ใกล้ตัวที่สุด ที่สามารถจะนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย
เช่น ต้นไม้ แม่น้ำ ลำคอลง ภูเขา น้ำตก แหล่งท่องเที่ยง
หากแบ่งแหล่งข้อมูลตามลักษณะการเกิด สามารถแบ่งได้ดังนี้
แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ หมายถึง ข้อมูลทั่วไปที่ได้จากการเก็บรวบรวม
หรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง อาจเป็นการสอบถาม การสัมภาษณ์ การจดบันทึก
และการจัดหาด้วยเครื่องอัตโนมัติ
แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ หมายถึง
ข้อมูลที่ได้มีผู้รวบรวมไว้แล้วในลักษณะเอกสารตีพิมพ์เผยแพร่และตำราทางวิชาการ
เช่น ข้อมูลสถิติต่าง ๆ เป็นต้น
ข้อมูลเหล่านี้มีการตีพิมพ์เผยแพร่เพื่อใช้งานหรือนำไปประมวลผลต่อประโยชน์ของข้อมูล
ประโยชน์ของข้อมูล
1. เพื่อการเรียนรู้
เราสามารถใช้ข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้รับมาจากวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ หรือสิ่งอื่น
ๆ มาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการเรียน นอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียน
2. เพื่อการสื่อสาร
เมื่อเรามีข้อมูลต่าง ๆ
ที่ตรงกับคนอื่นเราก็สามารถจะร่วมสนทนาพูดคุยกันถึงเรื่องนั้น ๆ ได้
3. เพื่อการตัดสินใจ
การที่เราตัดสินใจซื้อสิ่งของหรือทำสิ่งต่าง ๆ
จำเป็นต้องมีข้อมูลที่เกี่ยวกับสิ่งเหล่านั้น
เพื่อที่จะทำให้เราตัดสินใจได้ง่ายและถูกต้อง
คุณสมบัติของข้อมูลที่ดี
1.
ข้อมูลมีความถูกต้องตรงกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
2. ข้อมูลเป็นปัจจุบัน
สามารถตรวจสอบได้ ข้อมูลมีแหล่งข้อมูลที่สามารถอ้างอิงได้
3. ข้อมูลที่ความสมบูรณ์
สามารถตรวจสอบ และสามารถอ้างอิงได้
4.
ข้อมูลมีความชัดเจนกะทัดรัด
5.
ข้อมูลมีความสอดคล้องกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
PowerPoint
สื่อ วีดีโอ
วีดีโอสอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น